Friday, January 7, 2011

สหรัฐเร่งระดมพัฒนาเครื่องจักรกล และหุ่นยนต์เพื่อการรบ

การพัฒนาหุ่นยนต์เพื่อการรบได้ช่วยให้การทำสงครามมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น แม้ว่าในปัจจุบัน เครื่องจักรกลจำนวนมากได้ถูกใช้ในการรบอยู่แล้ว กองทัพและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังพยายามผลักดัน ให้นำหุ่นยนต์มาใช้ในสงครามมากขึ้น หุ่นยนต์รุ่นใหม่ๆ ได้ถูกออกแบบ และพัฒนาเพื่อการปฏิบัติงาน หลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่การลาดตระเวน จนถึงปฏิการสังหาร ซึ่งทหารเทคนิคสามารถควบคุมหุ่นยนต์ รบด้วยสัญญาณไร้สายโดยที่ไม่ต้องเข้าไปอยู่ในพื้นที่ระยะกระสุน ทหารเทคนิคสามารถควบคุม กล้องวิดีโอตรวจหา และกำจัดคนซุ่มยิงด้วยการยิงติดต่อกันในระยะเวลาอันรวดเร็ว นอกจากช่วยปกป้อง ทหารแล้ว หุ่นยนต์ยังเป็นนักรบที่ไม่เคยถูกหันเหความสนใจไปจากจุดเป้าหมาย ดวงตาจักรกลที่ไม่ต้อง กระพริบตาสามารถตรวจจับได้แม้กระทั่งการเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อย นอกจากนั้นหุ่นยนต์ก็ไม่เคยมีความหวาดกลัวต่อกระสุน การสำรวจพื้นที่รบโดยอาศัยสายตา ของ หุ่นยนต์ จึงทำให้ทหารมีเวลามากขึ้นในการแยกแยะเป้าหมาย และช่วยลดการเสียชีวิตของผู้บริสุทธ์
ในทางกลับกันปรากฏว่ามีผู้คัดค้านการใช้หุ่นยนต์โดยให้เหตุผลคัดง้างกันว่า การที่หุ่นยนต์ช่วยลด อันตรายแก่ทหาร และลดงบประมาณแก่กองทัพจะส่งผลให้มีการก่อสงครามได้ง่ายมากขึ้น และ ประชาชนผู้บริสุทธ์จะเสียชีวิตมากยิ่งขึ้น เพราะการแยกแยะศตรู กับผู้บริสุทธ์ทำได้ยาก โดยเฉพาะ เครื่องจักรที่ถูกควบคุมจากทางไกล เช่นการควบคุมการรบในอิรักจากสหรัฐอเมริกา
อย่างไรก็ตาม ทหารและนักกลยุทธทางการรบ รวมไปถึงนักออกแบบอาวุธยังคงให้การสนับสนุน การใช้นักรบหุ่นยนต์ โดยให้เหตุผลว่าเครื่องจักรกลไม่มีความรู้สึก ดังนั้นหุ่นยนต์จะปฏิบัติตาม กฎเกณฑ์อย่างเคร่งครัด และไม่มีการตัดสินใจเพื่อตอบสนองตามความรู้สึก เช่น ความโกรธ หรือความมุ่งร้าย ดังนั้นหุ่นยนต์จึงมีการตัดสินใจที่ดีกว่า ความเชื่อมั่นในหุ่นยนต์ได้รับการพิสูจน์ ในการรบหลายๆ ครั้งของประเทศสหรัฐฯ โดยหุ่นยนต์นักรบได้ช่วยรักษาชีวิตทหารสหรัฐฯ จำนวนมากจากการบุกโจมตีในพื้นที่ของฝ่ายตรงข้าม และการเก็บกู้ระเบิดชนิดต่างๆ

แม้ว่าประเด็กถกเถียงนี้ยังหาข้อสรุปไม่ได้ กองทัพสหรัฐฯ ก็ยังคงพยายามเพิ่มการใช้เครื่องจักรในสงคราม โดยในปี 2001 รัฐสภาของสหรัฐได้มอบหมายให้กระทรวงกลาโหม เพิ่มปริมาณการใช้ยานพาหนะเพื่อการรบที่ควบคุมโดยสัญญาณวิทยุทางไกลให้ได้ 1 ใน 3 ของยานพาหนะทั้งหมดภายในปี 2015 ในระหว่างนี้ได้มีการพัฒนาที่สำคัญต่างๆ เช่น วิศวกรจาก Boston Dynamics ได้ออกแบบหุ่นยนต์เดินได้เพื่อช่วยทหารขนส่งเครื่องมือทางการรบที่หนักถึง 400 ปอนด์ ไปยังพื้นที่ทุรกันดาร โดยหุ่นยนต์ดังกล่าวจะติดตามกลุ่มทหารโดยอัตโนมัติ อีกตัวอย่างหนึ่งคือการพัฒนาหุ่นยนต์สี่ขาที่สามารถรักษาการทรงตัว และเคลื่อนที่ได้ทั้งในพื้นที่ลาดชัน หรือพื้นที่ที่ถูกปกคลุมด้วยน้ำแข็ง

นอกจากนี้ การพัฒนาในปัจจุบันได้มุ่งเน้นไปที่อุปกรณ์การรบที่มีขนาดเล็กลง มีน้ำหนักเบาลง และมีพื้นที่ทำลายล้างที่แคบลง แต่มีความแม่นยำมากขึ้น ผู้สนับสนุนโครงการกล่าวว่าความพยายามเหล่านี้เพื่อลดการตายของผู้บริสุทธ์ และทหารของสหรัฐฯ ตัวอย่างผลงานประดิษฐ์ที่น่าสนใจ เช่น หุ่นยนต์มาร์ (Maars – Modular Advanced Armed Robotic System) ซึ่งเป็นหุ่นยนต์จู่โจมสำหรับเวลากลางคืน เนื่องจากระบบพลังงานของหุ่นยนต์ชนิดนี้ไม่แผ่รังสีความร้อนเหมือนกับร่างกายของมนุษย์ และหุ่นยนต์มาร์ยังใช้ปืนเลเซอร์ในการโจมตี ดังนั้นเครื่องตรวจจับความร้อนจึงไม่สามารถตรวจจับหุ่นยนต์มาร์ได้ การพัฒนาเหล่านี้ส่งผลให้สงครามที่ดำเนินด้วยเครื่องจักรกล และหุ่นยนต์อัตโนมัติจะเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้

ค้นพบจุลินทรีย์ชนิดใหม่ที่ Mono Lake

สิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลก มีวิวัฒนาการของพื้นฐานทางโครงสร้างทางพันธุกรรมหรือ ดีเอ็นเอ
(DNA; Deoxyribonucleic acid ) ที่เหมือนกัน ทั้งนี้ ดีเอ็นเอ สามารถพบได้ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต
ทุกชนิด ตั้งแต่จุลินทรีย์ พืช สัตว์ หรือแม้แต่ในมนุษย์ ดีเอ็นเอ ทำหน้าที่บรรจุข้อมูลทางพันธุกรรม
ของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นไว้ และสามารถถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมต่อไปยังลูกหลานได้ ทั้งนี้
ส่วนประกอบที่สำคัญของดีเอ็นเอ คือ น้ำตาล (ประกอบด้วย คาร์บอน และไฮโดรเจน), ฟอสเฟต
(Phosphate) (ประกอบด้วยฟอสฟอรัสและออกซิเจน) และไนโตรจีนัสเบส (Nitrogenous Base)
ที่มีไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบ ส่วนประกอบเหล่านี้รวมกันเรียกว่า เบส (Base) ซึ่งแต่ละเบสจะถูกเชื่อมต่อกันด้วยพันธะที่มีหมู่ฟอสเฟตหรือฟอสฟอรัสเป็นตัวเชื่อม
เกิดเป็นโครงสร้างสายเกลียวคู่ของดีเอ็นเอขึ้น

ปัจจุบัน องค์การนาซ่า (NASA) ค้นพบจุลินทรีย์ชนิดใหม่จากทะเลสาป Mono Lake มลรัฐ-
แคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งทะเลสาปแห่งนี้ เป็นทะเลสาปปิด ไม่มีทางออกสู่แม่น้ำหรือ
ทะเล ทำให้เกิดการสะสมของสารต่างๆ ที่เป็นพิษและไม่เป็นพิษขึ้น ทั้งนี้ กลุ่มผู้วิจัยตรวจพบ
ปริมาณสารอาร์เซนิก (Arsenic) ที่มีปริมาณความเข้มข้นสูงกว่าระดับปกติ ซึ่งโดยทั่วไป
อาร์เซนิกนั้น จัดเป็นสารพิษต่อร่างกายของสิ่งมีชีวิต แต่จุลินทรีย์ชนิดนี้กลับสามารถดำรงชีวิต
อยู่ได้ และเมื่อทำการวิเคราะห์โครงสร้างดีเอ็นเอของจุลินทรีย์ พบว่า มีส่วนประกอบของอาร์เซนิก
(Arsenic) แทนที่ฟอสฟอรัส ในโครงสร้างของดีเอ็นเออีกด้วย จากการค้นพบครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึง วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตที่มีการปรับตัวเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในสภาวะแวดล้อมที่
สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่
แบคทีเรียชนิดนี้สร้างความประหลาดใจให้กับกลุ่มผู้วิจัยชีวดาราศาสตร์ (Astrobiology) ซึ่งเป็น
กลุ่มผู้วิจัยสิ่งมีชีวิตนอกโลกเป็นอย่างมาก ในปัจจุบัน NASA มีโครงการวิจัยเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต
ชนิดใหม่ หรือสิ่งมีชีวิตที่แฝงเร้นอยู่ภายในโลกแต่ยังไม่มีการค้นพบ ซึ่งสิ่งมีชีวิตเหล่านั้น อาจซ่อนตัวตามแหล่งอาศัยที่เราคาดไม่ถึงหรือมีโครงสร้างทางชีวโมเลกุลที่แตกต่างจากสิ่งมีชีวิต
ปกติที่สามารถพบเห็นได้ และถ่ายทอดพันธุกรรมจากอดีตจนถึงปัจจุบัน หรือที่เรียกว่า Shadow
Biosphere อย่างไรก็ตาม NASA ยังไม่สามารถรับรองแบคทีเรียชนิดนี้ ว่าเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ เนื่องจากยังไม่สามารถหาข้อพิสูจน์หรือมีผลงานวิจัยรองรับที่เพียงพอ แต่ถือเป็นการค้นพบระบบ วิวัฒนาการแบบใหม่ของสิ่งมีชีวิตที่มีโครงสร้างของดีเอ็นเอที่แตกต่างจากสิ่งมีชีวิตทั่วไปบนโลก ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการค้นคว้าและวิจัยสิ่งมีชีวิตนอกโลก
ที่มา: The Washington Post, December 3, 2010