Monday, February 7, 2011

งบประมาณทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสหรัฐฯ


วารสาร Scientific American ได้รายงานว่า ในการจัดสรรงบประมาณประจาปีของสหรัฐอเมริกา ซึ่งปรกติจะอยู่ในช่วงเดือนมกราคมนั้น เมื่อมีการเปิดวาระการประชุมใหม่ มักจะเกิดข้อโต้แย้งหรือความขัดแย้งขึ้นในหมู่นักการเมืองสหรัฐฯ อยู่เป็นประจา ทั้งนี้ จากรูปภาพที่แสดงอยู่ทางด้านบน แสดงให้เห็นถึงสัดส่วนของงบประมาณสหรัฐฯ ในส่วนของการวิจัยและพัฒนาในปี 2009 ซึ่งงบประมาณที่สนับสนุนทางด้านวิทยาศาสตร์มีสัดส่วนมากที่สุด โดยมีสัดส่วนค่อนข้างคงที่อย่างต่อเนื่องจากงบประมาณปี 2008 จะเห็นได้ว่า สหรัฐฯ ให้ความสาคัญในส่วนของพลังงานฟอสซิล (Fossil Energy) เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งพลังงานดังกล่าว หมายถึง พลังงานของสารเชื้อเพลิงที่เกิดจากซากพืชซากสัตว์ที่ทับถมตัวอยู่ใต้พื้นโลกเป็นระยะเวลานานหลายพันล้านปี ทั้งนี้ จากการจัดสรรนโยบายดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มของนโยบายที่เปลี่ยนจากเดิมที่สนับสนุนและมุ่งเน้นในด้านของการพัฒนาทางทหาร เป็นมุ่งเน้นนโยบายในการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนที่ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม

ที่มา: วารสาร Scientific American, ฉบับเดือน มกราคม 2011
http://www.ostc.thaiembdc.org/stnews_feb11_11.html

พบสารก่อมะเร็ง (Carcinogen) ปนเปื้อนในน้าประปาถึง 31 เมืองในสหรัฐฯ


จากผลการวิเคราะห์น้าประปาล่าสุดโดยกลุ่มผู้วิจัย ได้พบสาร Hexavalent Chromium ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง (Carcinogen) ปนเปื้อนในน้าประปา (Tap water) ทั้งหมด 31 เมืองในประเทศสหรัฐฯ สารพิษที่มีการปนเปื้อนในน้า เป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไปเนื่องมาจากภาพยนตร์เรื่อง Erin Brockovich ที่ได้เข้าฉายเมื่อปีค.ศ. 2000 ได้สร้างขึ้นจากเรื่องจริงที่มีผู้ชนะคดีความการฟ้องร้องเรื่องการปนเปื้อนของสารพิษในน้า สารดังกล่าวสามารถก่อให้เกิดโรคมะเร็งในสัตว์ทดลองได้จากผลการทดลองในห้องทดลองโดยองค์กร NTP (National Toxicology Program) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันสาธารณสุขแห่งชาติ (National Insti-tutes of Health: NIH)

การหันมาบริโภคน้าดื่มจากขวด ไม่สามารถช่วยป้องกันการปนเปื้อนจากสารพิษดังกล่าวได้ เนื่องจากน้าที่นามาบรรจุขวดนั้น นามาจากกระบวนการผลิตเดียวกันกับน้าประปา และไม่สามารถป้องกันการปนเปื้อนจากสารดังกล่าว รวมถึงการปนเปื้อนอื่นๆ อีกด้วย อย่างไรก็ตาม การใช้เครื่องกรองน้าแบบมาตรฐานที่กรองด้วยคาร์บอนนั้น ไม่เพียงพอที่จะกรองสารดังกล่าว ทั้งนี้ เครื่องกรองน้าที่มีระบบการกรองแบบ Reverse-Osmosis สามารถแยกสารดังกล่าวออกจากน้าดื่มได้เพียงในเบื้องต้นเท่านั้น

ในปัจจุบัน รัฐบาลสหรัฐฯ ยังไม่ได้กาหนดมาตรฐานของปริมาณสาร hexavalent chromium ที่ปนเปื้อนในน้าดื่ม เนื่องจากยังอยู่ในกระบวนการพิจารณา ทั้งนี้ มลรัฐแคลิฟอร์เนียได้กาหนดค่าเป้าหมายเพื่อยกระดับมาตรฐานของน้าประปา โดยสามารถมีปริมาณสารดังกล่าวปนเปื้อนในน้าได้ไม่เกิน 0.06 ppb (part per billion) จากผลการวิเคราะห์ตัวอย่างน้าจากทั้งหมด 35 เมืองในสหรัฐฯ ได้ตรวจพบการปนเปื้อนของสารดังกล่าวใน 31 เมือง ซึ่งมี 25 เมืองที่มีปริมาณสารดังกล่าวสูงกว่าค่าเป้าหมายที่กาหนด โดยเมือง Bethesda มลรัฐ Maryland และ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. มีปริมาณสารดังกล่าวปนเปื้อนในน้าถึง 0.19 ppb และยังพบว่ามากกว่าค่าเป้าหมายถึงสามเท่า

สาร hexavalent chromium เป็นสารที่ถูกนามาใช้ในอุตสาหกรรมเคมี เช่น โรงงานผลิตสี และพลาสติก เป็นต้น ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 จนถึงปัจจุบัน จากผลการวิจัยที่ผ่านมาพบว่า สารดังกล่าวสามารถก่อให้เกิดโรงมะเร็งในมนุษย์ได้หากได้รับการสูดดม และสามารถก่อให้เกิดเนื้องอกและโรคมะเร็งบริเวณทางเดินอาหารในหนูทดลองโดยผ่านการดูดซึมของร่างกาย

สถาบัน American Chemistry Council ซึ่งเป็นตัวแทนของกลุ่มอุตสาหกรรมเคมี ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับค่าเป้าหมายของระดับมาตรฐานดังกล่าวว่าเครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์สารดังกล่าวในปัจ จุบันไม่สามารถตรวจวัดได้แม่นยาตามมาตรฐานที่มลรัฐแคลิฟอร์เนียกาหนด อย่างไรก็ตาม ผลการวิจัยดังกล่าว ได้สร้างความตื่นตัวให้กับประชาชนรวมถึงรัฐบาลสหรัฐฯ คานึงถึงข้อกาหนดมาตรฐาน น้าดื่มในปัจจุบัน เพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานชีวิตประชากรต่อไป


ที่มา: The Washington Post, December 20, 2010.
http://www.ostc.thaiembdc.org/stnews_feb11_10.html

สื่อมวลชนยังรายงานข่าวด้านโลกร้อนน้อยมาก


มีการสารวจพบว่า ปีที่ผ่านมา บทความและข่าว ที่รายงานจากประชุมสุดยอดผู้นาด้านภูมิอากาศ ได้เสนอ ประเด็นด้านวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศน้อยมาก

Oxford University’s Reuters Institute for the Study of Journalism ได้มีการวิเคราะห์จากบทความ

จานวน 400 ชิ้น ช่วงเดือนธันวาคม ปี 2009 ซึ่งมีการประชุมสุดยอดผู้นาด้านภูมิอากาศ 120 ประเทศ ณ กรุงโคเปนเฮเกน และเรียกร้องให้มีการทบทวนการรายงานข่าวจากการประชุมในครั้งต่อไปเสียใหม่ เนื่องจากข่าวด้านวิทยาศาสตร์จากที่ประชุมดังกล่าวได้มีการรายงานน้อยมาก (น้อยกว่าร้อยละ 10) แต่กลับไปเน้นประเด็นอื่น เช่น การแฮคอีเมล์จาก British University ซึ่งสร้างข้อสงสัยว่าเป็นความพยายามของนักวิทยาศาสตร์ที่จะค้านในสิ่งที่ไม่เห็นด้วย แต่ได้มีการออกมาชี้แจงว่าเป็นการทาผิดพลาดโดยไม่ตั้งใจ ได้มีผู้เสนอว่า ควรมีการประชุมหารือระหว่างนักวิทยาศาสตร์ สื่อมวลชน และผู้กาหนดนโยบาย ในการช่วยกันสร้างความสาคัญของประเด็นที่กาลังปะทุ เช่นการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เพื่อการมีส่วนร่วมของคนทั่วโลก

รายงานข่าวนี่กล่าวว่า มีเพียง 12 ประเทศ เช่น บราซิล อินเดีย ออสเตรเลีย อังกฤษ ไนจีเรีย และรัสเซีย ให้เนื้อที่ของสื่อสิ่งพิมพ์ในเรื่องนี้ และมีผู้เสนอว่า วิธีเดียวที่จะปรับปรุงการรายงานข่าวเรื่องการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศก็คือการเพิ่มจานวนของเจ้าหน้าที่ด้านสื่อเพื่อช่วยนักวิทยาศาสตร์ ในการเผยแพร่ข่าวสาร ดังตัวอย่างในกลุ่มสิ่งแวดล้อม เช่น กลุ่มกรีนพีซพบว่า มีเจ้าหน้าที่จัดทาสื่อถึง 20 คน ในการประชุมที่โคเปนเฮเกน เมื่อเปรียบเทียบกับเจ้าหน้าที่ที่ทางานด้านสื่อ ในมหาวิทยาลัย 250 แห่ง ที่มีเพียง 12 คน และคณะกรรรมการของ UN เองก็มีเจ้าหน้าที่ด้านสื่อเพียงคนเดียวเท่านั้น ทั้งนี้ ได้มีข้อแนะนาให้มีการเสนอรายงานข่าวในแง่มุมที่ไม่เคยทามาก่อนเกี่ยวกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก และนาเสนอด้วยสื่อใหม่ๆ ด้วย

คณะด้านวิทยาศาสตร์ UN ได้พบว่า ในปี 2007 ภาวะโลกร้อนอาจเกิดจากฝีมือมนุษย์และเป็นแรงผลักดันสาคัญให้มีการดาเนินการด้านการปลดปล่อยก๊าซ ซึ่งได้รับการติเตียนว่าทาให้อุณหภูมิสูงขึ้น น้าท่วม แห้งแล้ง คลื่นความร้อนและระดับน้าทะเลสูงขึ้น และปีนี้ UN แจ้งว่า จะให้มีการประชุมรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมในประเทศเมกซิโก ประมาณวันที่ 29 พฤสจิกายน-10 ธันวาคม 2010


ที่มา : the Washington Post, November 15, 2010
http://www.ostc.thaiembdc.org/stnews_feb11_9.html

หุ่นยนต์สูดดมกลิ่นสารเคมี



หน่วยงาน Army Research Laboratory (ARL) ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ออกแบบหุ่นยนต์ระบบใหม่ที่สามารถสูดดมกลิ่นสารเคมีได้ งานวิจัยดังกล่าวได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัย Michigan และ Pennsylvania ในการพัฒนาเครื่องไมโครก๊าซ โครมาโตกราฟ (Micro Gas Chromatograph) ขนาดพกพา ซึ่งมีระบบปฏิบัติ การบนแผ่นไมโครชิป (microchip) ซึ่งมีขนาดประมาณเหรียญ 10 เซนต์สหรัฐฯ ARL ได้นาแผ่นไมโครชิปดังกล่าวใส่ในระบบปฎิบัติการของหุ่นยนต์เคลื่อนที่ ทาหน้าที่เป็นจมูกอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสามารถค้นหาและตรวจจับสารเคมีต้องสงสัยที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ได้

ในปัจจุบัน มีการสร้างเทคโนโลยีในการผลิตวัสดุและอาวุธที่มีอานุภาพการทาลายล้างที่รุนแรง อาทิเช่น อาวุธเคมี และอาวุธชีวภาพ ทาให้นักวิจัยระบบการปฏิบัติการดังกล่าวมีความคิดที่จะพัฒนาความสามารถของหุ่นยนต์ที่นอกจากจะสามารถวิเคราะห์ชนิดของสารเคมีแล้ว ยังสามารถที่จะวิเคราะห์สารเคมีที่ก่อให้เกิดการระเบิดหรือมีอานุภาพทาลายล้าง และทาให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์ได้ โดยหุ่นยนต์ดังกล่าวสามารถระบุว่า สารต้องสงสัยนั้นเป็นอาวุธเคมี หรืออาวุธชีวภาพหรือไม่ ทั้งนี้ นักวิจัยคาดหวังว่างานวิจัยดังกล่าวสามารถนาไปต่อยอดในการผลิตหุ่นยนต์ที่สามารถนามาใช้กับระบบความมั่นคงและรักษาความปลอดภัยทางการทหารได้ในอนาคต เนื่องจากระบบการปฏิบัติการดังกล่าวสามารถนาไปพัฒนาใส่ในหุ่นยนต์ที่มีขนาดเล็ก ที่มีระบบแจ้งเตือนภัยในกรณีที่มีการตรวจพบอาวุธเคมีหรืออาวุธชีวภาพ นอกจากนี้ ยังมีระบบสร้างแผนที่อาคารหรือโครงสร้างอื่นๆ เช่น ถ้า อุโมงค์ หรือโพรง ที่มีสารเคมีต้องสงสัยอยู่ และส่งข้อมูลกลับไปยังทหารก่อนที่ทหารจะเข้าไปสารวจในบริเวณต้องสงสัยดังกล่าว เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นต่อชีวิตทหาร รวมถึงลดความเสียหายต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นตามมาอีกด้วย

กลุ่มนักวิจัยกล่าวว่า ผลงานวิจัยดังกล่าวสามารถดัดแปลงใส่ในชุดเครื่องแบบทหาร หรือยาพาหนะ โดยผ่านระบบเครือข่ายเคลื่อนที่ เพื่อให้สามารถนาไปใช้ในด้านความมั่นคงและรักษาความปลอดภัยในสถานที่สาธารณะต่างๆ เช่น รถไฟฟ้า เครื่องบิน หรือรถโดยสาร

งานวิจัยดังกล่าวเป็นระบบต้นแบบของการใช้ระบบโครมาโตกราฟชนิดก๊าซที่มีขนาดเล็ก มีน้าหนักเบา และใช้พลังงานน้อย ทาให้เหมาะสมในการนามาดัดแปลงใช้กับระบบปฏิบัติการทางทหาร โดยระบบปฏิบัติการดังกล่าวเป็นการใช้สารปรอทเป็นตัวคัดกรองที่มีความไวต่อการตอบสนองในปฏิกิริยาเคมี ซึ่งระบบการทางานโดยทั่วไปของระบบโครมาโตกราฟชนิดก๊าซนั้น เริ่มจากการตรวจจับสารระเหยหรือก๊าซตัวอย่างเข้าไปในเครื่อง จากนั้นทาการแบ่งแยกองค์ประกอบของก๊าซโดยผ่านตัวนาพา (Carrier) ซึ่งจะนาผ่านของเหลวหรือของแข็งที่แตกต่างกัน ทาให้สารระเหยหรือก๊าซ แยกตัวออกจากกันตามคุณสมบัติแรงดึงดูดต่อขั้วไฟฟ้าทางเคมีที่แตกต่างกัน ทาให้สสารนั้นเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่แตกต่างกันจนสามารถแบ่งแยกส่วนประกอบทางเคมีของสารดังกล่าวได้ในที่สุด จากนั้น จึงนาผลที่ได้มาวิเคราะห์ชนิดของสารเคมีนั้นๆ ต่อไป

อย่างไรก็ตาม งานวิจัยดังกล่าวยังต้องมีการศึกษาและพัฒนาเพิ่มเติมในด้านการออกแบบอุปกรณ์รับส่งสัญญาณที่สามารถรับส่งข้อมูลภายใต้สภาวะแวดล้อมต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น รวมถึงการพัฒนาระบบซอฟต์แวร์เพื่อรองรับการใช้งานเบื้องต้นอีกด้วย ซึ่งถ้าหากสามารถพัฒนาระบบดังกล่าวให้มีศักยภาพเพิ่มมากขึ้นจนสามารถนามาปฏิบัติงานจริงได้ จะเป็นการลดความเสี่ยงอันตราย รวมถึงลดอัตราการเสียชีวิตของทหารที่เป็นผู้สารวจในเบื้องต้นอีกด้วย


ที่มา: www.army.mil, January 05, 2011
http://www.ostc.thaiembdc.org/stnews_feb11_6.html

นักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยควรเข้าใจระบบวีซ่าของสหรัฐฯ


นักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยทั่วโลก มีโอกาสเดินทางไปสร้างความก้าวหน้าในประเทศสหรัฐฯ ข้อแนะ -นาต่อไปนี้จะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ไม่ประสบปัญหาในการเดินทางไปยังประเทศสหรัฐฯ David T. Donahue, Deputy Assistant Secretary for Visa at the US. Department of State ได้แนะนาไว้ ดังนี้

ใครเป็นผู้กาหนดและควบคุมนโยบายวีซ่า? กฏหมายสหรัฐฯ กาหนดนโยบายวีซ่าและ Consular Affairs, The Office of Visa services ในกรุงวอชิงตัน ดี. ซี. ได้กาหนดมาตรฐานในกระบวน การออกวีซ่าและให้แนวทางการตอบข้อสงสัยทางกฏหมาย สานักงานนี้มีหน้าที่ให้ความสะดวกการเดินทางตามกฏหมายไปยังประเทศสหรัฐฯ เพื่อการปฏิบัติงาน การท่องเที่ยว การศึกษา และการขออพยพย้ายถิ่นอย่างถูกกฏหมาย นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ออกวีซ่านักเรียนและวีซ่าแลก เปลี่ยนบุคลากร (Exchange visitor visa) และผู้เข้ามาทางานชั่วคราวตามกฏหมาย (วีซ่า H-1B)

ใครเป็นผู้ตัดสินใจให้วีซ่า? เจ้าหน้าที่แผนกกงสุลในสถานเอกอัครราชทูตของสหรัฐฯ กว่า 220 แห่งทั่วโลกเป็นผู้ตัดสินใจให้วีซ่าหรือปฏิเสธ เจ้าหน้าที่เหล่านั้นได้รับการฝึกอบรมเข้มข้นในเรื่องภาษาต่างประเทศก่อนที่จะเดินทางไปรับตาแหน่ง และเมื่อเดินทางไปถึงก็ต้องเรียนรู้สภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการยื่นขอวีซ่าในประเทศที่ไปรับตาแหน่ง และสามารถทาหน้าที่สัมภาษณ์ในการยื่นขอ วีซ่าในจานวนมากกว่า 100 รายต่อวัน

ทาไมจึงจะได้รับวีซ่าหรือถูกปฏิเสธ? ระหว่างการสัมภาษณ์ เจ้าหน้าที่กงสุลจะถามเกี่ยวกับเหตุผลในการขอวีซ่าการเดินทาง และต้องประเมินว่าผู้ยื่นมีความตั้งใจจริงและมีความตั้งใจเดิน -ทางที่ไม่ขัดต่อกฏหมาย ข้อมูลส่วนตัวของผู้ยื่นจะได้รับการตรวจสอบจากฐานข้อมูลว่ามีปัญหาเรื่องการก่ออาชญากรรมหรือก่อการร้ายหรือไม่ และจะออกวีซ่าให้กับผู้เดินทางที่มีคุณสมบัติครบประมาณสามในสี่ของข้อมูลที่สัมภาษณ์ และจะไม่ออกวีซ่าให้ในกรณีที่เห็นว่าผู้ยื่นขอมีเจตนาไปพักอาศัยเกินกว่าระยะเวลาที่กาหนดหรือจะใช้วีซ่าในทางที่ไม่เหมาะสม หากผู้ยื่นขอวีซ่าสหรัฐฯ ไม่ได้เป็นคนในประเทศที่ยื่นขอวีซ่า หรือนอกประเทศบ้านเกิดของตน (nonimmigrant) จะมีปัญหาในการพิสูจน์ทราบว่า เขามีความผูกพันกับประเทศนั้นอย่างไรบ้าง เนื่องจากต้องแสดงให้เห็นว่าเขาจะกลับมาเมื่อวีซ่าหมดอายุ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการแสดงให้เห็นว่ามีข้อผูกพันกับประเทศนั้นยังรวมไปถึงระยะเวลาที่เขาพักอาศัยอยู่ในประเทศและสถาน-ภาพเมื่ออยู่ในประเทศนั้น รวมถึงข้อมูลการเดินทางก่อนหน้านั้นด้วย เนื่องจากมีการออกวีซ่าชั่วคราวให้กับนักวิทยาศาสตร์ (ในประเทศที่ไม่ใช่ถิ่นกาเนิดของนักวิทยาศาสตร์นั้น) ซึ่งมีแผน การจะเข้ามาประชุมในประเทศสหรัฐฯ

ผู้เดินทางไปประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์บางรายอาจได้รับการปฏิเสธหรือให้รอคอยวีซ่า ซึ่งขึ้นกับข้อมูลและกระบวนการทางธุรการ เจ้าหน้าที่กงสุลจะตรวจสอบคุณ-สมบัติหรือสิทธิของผู้ยื่นขออย่างละเอียด เนื่องจากบางกรณี ได้มีการห้ามเคลื่อนย้ายเทคโนโลยีหรือข้อมูลที่มีอันตราย ทาให้ต้องมีกระบวน การตรวจสอบเพิ่มมากขึ้น ซึ่งในกรณีการถ่ายโอนเทคโนโลยีกระบวนการให้วีซ่าจะไม่เกินสองถึงสามสัปดาห์ สถานกลสุลจะขอให้ผู้ยื่นขอวีซ่า มีเวลาเผื่อไว้ระหว่างการยื่นเรื่องขอกับกาหนดเวลาการเดินทางไปสหรัฐฯ หากต้องมีการตรวจสอบเพิ่มเติม

การขอวีซ่าเป็นหนทางเดียวหรือ? The Visa Waiver Pro-gram (VWP) จะอนุญาตให้ผู้เดินทางจากประเทศที่มีข้อตกลง สามารถเดินทางเข้าไปยังประเทศสหรัฐฯ ได้โดยไม่ต้องมีวีซ่าเป็นระยะเวลามากกว่า 90 วันขึ้นไป เพื่อวัตถุประสงค์ทางธุรกิจหรือท่องเที่ยว แต่ช่วงสองปีที่ผ่านมา สหรัฐฯ ได้เพิ่มรายชื่อ ประเทศที่ได้รับการยกเว้นวีซ่าเป็นจานวน 36 ประเทศ ทาให้มีผู้เดินทางจานวน 16 ล้านคนในโปรแกรมนี้เข้ามาในสหรัฐฯ

การขอวีซ่าใช้เวลานานเท่าใด? สหรัฐฯตระหนักว่า เวลาเป็นเงินเป็นทอง จึงพยายามทาให้กระบวนการเร็วมากขึ้นและลดภาระผู้เดินทางโดยใช้นวัตกรรมในทางเทคนิคและการจัดการเพื่อลดเวลาการยื่นขอและการสัมภาษณ์ และขจัดภาระที่เป็นงานกระดาษและการเก็บค่าธรรมเนียมสาหรับสถานทูตและสถานกงสุลในต่างประเทศ และเน้นเรื่องการสัมภาษณ์ผู้ยื่นขออย่างเดียว ในปีที่แล้ว ได้ให้บริการ on-line visa application forms เพื่อลดปัญหาการกรอกข้อมูลและทาให้เจ้าหน้าที่สามารถสัมภาษณ์ผู้ยื่นขอได้มากขึ้น และในระยะต่อไปจะลดการใช้เอกสารในการยื่นขอวีซ่า สาหรับประเทศที่มีความประสงค์จะให้สิทธิต่างตอบแทนในการออกวีซ่าแก่พลเมืองสหรัฐระยะยาวขึ้น สหรัฐฯยินดีให้วีซ่าระยะยาวเช่นกัน ผู้ยื่นขอสามารถยื่นขอวีซ่าครั้งเดียวและได้รับ วีซ่าระยะเวลาห้าหรือสิบปี และการยื่นขอใหม่สามารถทาได้โดยไม่ต้องไปแผนกกงสุลอีก บางประเทศมีการยื่นขอวีซ่าในปริมาณที่สูงมาก เช่น จีน อินเดีย บราซิล ฟิลิปินส์ รัสเซีย อียิปต์ แม้ว้าจะเพิ่มเจ้าหน้าที่ แต่เพื่อลดปัญหา ดังนั้นสานักงานในกรุงวอชิงตัน ดี ซี จึงจัดผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัยคอยตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับปัญหาวีซ่าทุกประเภทเพียงโทร (202) 663-1225 หรืออีเมล์ที่ USvisa@state.gov. นอกจากนี้ the Business Visa Center, BusinessVisa@state.gov. จะช่วยผู้จัดการประชุมในสหรัฐฯ ให้ทราบเกี่ยวกับหน้าที่ของสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯในแต่ละประเทศและประสานงานในเรื่องรายชื่อผู้ที่จะเข้ามาประชุมจากต่างประเทศด้วย

นักธุรกิจ นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศจะต้องเตรียมตัวอย่างไรสาหรับการสัมภาษณ์เพื่อขอวีซ่า? ประการแรก ให้เข้าไปที่ เว็บไซด์ของสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ หรือสถานกงสุลในประเทศของตนเพื่อทราบเกี่ยวกับวิธีการนัดหมาย และต้องเสียค่าธรรมเนียมการยื่นขอรับการสัมภาษณ์ วีซ่าสาหรับวีซ่าทุกประเภท (ซึ่งขอเงินคืนไม่ได้) ประมาณ $140 (อาจมีค่าธรรมเนียมอื่นเล็กน้อยในการขอรับการนัดหมาย) ประการที่สอง การยื่นขอต้องยื่นล่วงหน้าอย่างน้อยสามเดือนเพื่อวางแผนการเดินทางได้ ซี่งจะช่วยแก้ปัญหาการจัดการที่ไม่คาดคิด เช่น ในฤดูร้อนในเดือนที่มีการขอวีซ่ามาก ในวันสัมภาษณ์ ผู้ยื่นต้องเตรียมตัวตอบคาถามเกี่ยวกับวัตถุประสงค์การเดินทางให้ชัดเจน ซึ่งผู้สัมภาษณ์คาดหวังว่าจะได้รับคาตอบที่ชัดเจนจากผู้เดินทางมากกว่าการพิจารณาเอกสารปึกหนาๆ ของหน่วยงานที่เป็นสปอนเซอร์การเดินทางไปสหรัฐฯ หลังจากสัมภาษณ์แล้ว อาจต้องมารับวีซ่าในอีกหลายวันทาการถัดมา หากการยื่นขอได้รับการปฏิเสธ เจ้าหน้ากงสุลจะแจ้งผู้ยื่นขอให้ทราบข้อกฏหมายที่ต้องปฏิเสธให้ทราบ หากการปฏิเสธมีสาเหตุจากข้อมูลไม่เพียงพอเจ้าหน้าที่จะให้คาแนะนาเพิ่มเติมแก่ผู้ยื่นขอ ทั้งนี้ การอานวยความสะดวกในการออกวีซ่ายังครอบคลุมการทางานหลายประเภท นับแต่ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และ State Department จะปรับปรุงวิธีการให้วีซ่าเพื่อทาให้สหรัฐฯ เป็นผู้นามีความเข้มแข็งในการแลกเปลี่ยนทางวิทยาศาสตร์ของโลกมากขึ้น


ที่มา: www.cen-online-org., January 3, 2011

พบกรดอะมิโนในหินอุกกาบาต


นักวิทยาศาสตร์จากองค์การนาซ่า (NASA) พบกรดอะมิโนจากหินอุกกาบาต (Asteroid 2008 TC3) ที่หล่นมายังพื้นโลก โดยปกติกรดอะมิโน (Amino Acid) เป็นชีวโมเลกุลที่ประกอบด้วยคาร์บอน ออกซิเจน ไนโตรเจน และไฮโดรเจน แยกเป็นหมู่ฟังก์ชัน อะมิโน และคาร์บอกซิล (Carboxyl) ซึ่งกรดอะมิโนเป็นส่วนหน่วยพื้นฐานที่เล็กที่สุดของโปรตีนที่เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของสิ่งมี ชิวิต เช่น ดีเอนเอ (DNA) เป็นต้น หินอุกกาบาตดังกล่าว เป็นหนึ่งในกลุ่ม ของกลุ่มหินอุกกาบาตจานวน 600 ชิ้น ที่พบในทะเลทราย Nubian ประเทศ Sudan ทวีปแอฟริกา

การกาเนิดดาวเคราะห์นั้น จะเกิดจากการรวมตัวของกลุ่มอุกกาบาตในสภาวะอุณหภูมิสูง ส่งผลให้ กรดอะมิโนถูกทาลาย นักวิทยาศาสตร์วิเคราะห์ไว้ว่า กรดอะมิโนดังกล่าวอาจเกิดจากกลไกทางเคมีที่แตกต่างไปจากกลไกที่ค้นพบในปัจจุบันทาให้สามารถคงสภาพอยู่ได้ในสภาวะที่ขาดน้าและมีอุณหภูมิสูงและการค้นพบครั้งนี้เป็นการค้นพบที่แสดงว่าสิ่งมีชีวิตอาจดารงอยู่ได้โดยใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์โดยตรง นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า หินอุกกาบาตดังกล่าว เป็นชิ้นส่วนหนึ่งของสะเก็ตดาวเคราะห์ที่กาเนิดขึ้นในระบบสุริยะ และผ่านการถูกหลอมเหลวที่อุณหภูมิสูงกว่า 1,000 องศาเซลเซียส ซึ่งร้อนเพียงพอที่จะหลอมเหลวเหล็กได้

จากผลการวิเคราะห์หินอุกกาบาตดังกล่าวในเบื้องต้น นักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถยืนยันถึงกลไกทางเคมีที่ทาให้เกิดกรด อะมิโนชนิดนี้จากสภาวะที่ไม่มีน้าเป็นส่วนประกอบ อย่างไรก็ตาม กลุ่มนักวิทยาศาสตร์เคยค้นพบกรดอะมิโนดังกล่าวจากหินตัวอย่างที่ได้มาจากนอกโลกมาแล้ว ทาให้มีสมมุติฐานของการเกิดกรดอะมิโนชนิดนี้ว่า อาจเกิดจากโครงสร้างของกรดอะมิโนที่แตกต่างจากกรดอะมิโนปกติที่ถูกสร้างขึ้นจากสิ่งมีชีวิตบนโลก โดยปกติ กรดอะ-มิโนสามารถแบ่งตามการจัดเรียงลักษณะโครงสร้างทางโมเลกุลได้สองชนิดคือ ลักษณะตามเข็มหรือทวนเข็มนาฬิกา และเกิดเป็นโครงสร้างโมเลกุล 2 ชนิดที่เรียกว่า Dextro (D) หรือ Levo (L) โมเลกุลทั้ง 2 มีหน้าตาเป็น ปรัศวภาพวิโลม(mirror image) ที่ต่อกันเหมือนมือซ้ายกับมือขวา และมีคุณสมบัติทางเคมีต่างกัน โดยทั่วไป กรดอะมิโนที่ผลิตขึ้นจากสิ่งมีชีวิตบนโลก จะผลิตกรดอะมิโนตามลักษณะทวนเข็มมากกว่าตามเข็ม แต่กรด อะมิโนที่พบในหินดังกล่าวกลับมีลักษณะที่แตกต่างออกไปซึ่งยังไม่สามารถอธิบายได้ในปัจจุบัน ทั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์ตั้งสมมุติฐานไว้ว่า เนื่องจากหินอุกกาบาตดังกล่าวได้ถูกทาให้เย็นลงในอุณหภูมิที่ต่ากว่า 500 องศาเซลเซียส จึงทาให้ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ ก๊าซไฮโดรเจน และ ก๊าซแอมโมเนีย รวมตัวเข้ากับ เหล็ก (iron) หรือนิเกิล (Nickel) เพื่อสร้างกรดอะมิโน ซึ่งกลไลทางเคมีดังกล่าวไม่สามารถเกิดขึ้นได้จริงเมื่ออยู่ภายนอกห้องทดลอง

ถึงแม้ว่า การค้นพบดังกล่าว ยังไม่สามารถระบุได้อย่างแน่ชัดถึงการมีอยู่ของสิ่งมีชีวิตนอกโลก เนื่องมาจากปริมาณของกรด อะมิโนดังกล่าวมีความเข้มข้นที่เจือจาง และยังเป็นหินตัวอย่างที่พบบนพื้นโลกอีกด้วย อย่างไรก็ตาม การค้นพบกรดอะมิโนจากตัวอย่างที่ไม่สามารถพบได้ทั่วไปบนโลก หรือจากแหล่งที่คาดไม่ถึงเช่น จากดาวเคราะห์ดวงอื่น ถือเป็นการค้นพบการสังเคราะห์กรดอะมิโนในสภาวะที่แตกต่างออกไปจากกลไกในปัจจุบัน


ที่มา: ScienceNews, December 12, 2010
http://www.ostc.thaiembdc.org/stnews_feb11_4.html

หุ่นยนต์สาหรับห้องฉุกเฉิน


ห้องฉุกเฉิน หรือ Emergency Room (ER) ในโรงพยาบาล เป็นห้องที่รองรับผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บฉุกเฉินที่ต้องการการรักษาอย่างเร่งด่วน ซึ่งเจ้าหน้าที่จะคอยดูแล หรือรักษาตามลาดับของความรุนแรง และความเร่งด่วนของโรคหรืออาการบาดเจ็บนั้นๆ ซึ่งถ้าหากเจ้าหน้าประเมินเบื้องต้นแล้วยังไม่พบอาการที่รุนแรงถึงชีวิต คนไข้จะต้องรอรับการรักษาในห้องรอรับการรักษา (Waiting Room) เพื่อรับการรักษาต่อไป ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาคนไข้ กลุ่มผู้วิจัยจึงได้คิดค้นพัฒนาหุ่นยนต์ที่สามารถใช้งานในห้องฉุกเฉิน โดยออกแบบหุ่นยนต์ดังกล่าวให้สามารถเก็บข้อมูลของยารักษาโรคต่าง ๆ สามารถวิเคราะห์และเก็บผลอาการเบื้องต้นของคนไข้ อีกทั้ง รวบรวมอาการของคนไข้และสรุปอาการเบื้องต้นให้กับเจ้าหน้าที่ ซึ่งกลุ่มผู้วิจัยคาดว่าจะสามารถย่นระยะเวลาในการรอรับการรักษาของคนไข้ ลดภาระของเจ้าหน้าที่ รวมถึงช่วยลดโอกาสการเกิดความผิดพลาดในการรักษาอีกด้วย ในปัจจุบัน คนไข้กว่าร้อยละ 40 ต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน เนื่องจากได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการป่วยที่อาจมีอันตรายถึงชีวิต ส่วนคนไข้อีกร้อยละ 60 สามารถรอรับการรักษาได้ในลาดับถัดไป ซึ่งกลุ่มผู้วิจัยคาดว่า หุ่นยนต์นี้จะสามารถช่วยวิเคราะห์อาการของคนไข้เบื้องต้นได้ และสามารถนามาใช้งานได้จริงภายในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยมีระบบการปฏิบัติงานคล้ายกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการลงทะเบียนผู้โดยสารของสายการบินต่างๆ

ในอนาคต มีแนวโน้มที่จะมีการใช้หุ่นยนต์ในห้องฉุกเฉินเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสามารถนามาใช้ได้ตั้งแต่จุดลงทะเบียนคนไข้ ซึ่งคนไข้สามารถให้ข้อมูลกับหุ่นยนต์ผู้ช่วยด้วยตัวเอง ผ่านระบบหน้าจอสัมผัสและระบบเสียงตอบรับ แต่ถ้าหากหุ่นยนต์ได้รับข้อมูลที่บ่งชี้ถึงอันตราย เช่น เจ็บหน้าอก หายใจติดขัด หุ่นยนต์จะแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบทันที และถ้าหุ่นยนต์ไม่ได้รับข้อมูลดังกล่าว หุ่นยนต์จะแจ้งระยะเวลาในการรอรับการรักษาเพื่อให้คนไข้นั่งรอในห้องรอรับการรักษาต่อไป และภายในห้องรอรับการรักษา กลุ่มผู้วิจัยจะพัฒนาหุ่นยนต์ที่สามารถตรวจวัดความดันโลหิต ชีพจร และจะแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบทันทีหากคนไข้มีอาการเจ็บปวดเพิ่มขึ้น

นอกจากการคิดค้นระบบการทางานที่เหมาะสมต่อการใช้งานในห้องฉุกเฉินแล้ว การออกแบบรูปร่างลักษณะของหุ่นยนต์ก็เป็นอีกวัตถุประสงค์หนึ่งที่กลุ่มผู้วิจัยคานึงถึง เนื่องจาก รูปร่างลักษณะของหุ่นยนต์นั้น มีผลต่อความน่าเชื่อถือของคนไข้ ทั้งนี้ กลุ่มผู้วิจัยคาดว่าหุ่นยนต์ดังกล่าวจะสามารถนามาใช้งานได้จริงในห้องฉุกเฉิน หรือขยายผลสู่กลุ่มผู้ใช้งานอื่นๆ ต่อไป


ที่มา: National Science Foundation, December 9, 2010
http://www.ostc.thaiembdc.org/stnews_feb11_3.html

สมาคมนักวิชาชีพไทยในอเมริกาและแคนาดา (ATPAC)


ATPAC (Association of Thai Professionals in America and Canada) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2534 โดยการรวมกลุ่มของ นักวิชาชีพไทยในสาขาต่างๆ ที่ทางานอยู่ใน ประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดาจานวนหนึ่ง ซึ่งมีความสนใจและปรารถนาที่จะพัฒนาประเทศบ้านเกิดเมืองนอนของตนให้มีความเจริญ ก้าวหน้าทัดเทียมนานาประเทศ โดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และรวบรวมกลุ่มนักวิชาชีพไทยในทวีปอเมริกาเหนือเพื่อสร้างเครือข่าย (Network) การทางานร่วมกับหน่วย งานในประเทศไทย เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทยซึ่งกาลังขาดแคลนบุคลากรทางด้านวิท-ยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสาขาต่างๆ ตลอดจนมีความต้องการการถ่ายทอดเทคโนโลยีและผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศมาช่วย เหลือเพื่อการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไป ทั้งนี้ รัฐบาลไทยได้เล็งเห็นความสาคัญที่จะใช้ประโยชน์จากนักวิชาชีพไทยในต่างประเทศที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์สูงที่สามารถนาความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วยเหลือในการจัดการได้ สมาคมนักวิชาชีพไทยในอเมริกาและแคนาดา (ATPAC) จดทะเบียนเป็นองค์กรไม่หวังผลกาไรที่มลรัฐเท็กซัส ในปี พ.ศ. 2535 โดยมีวัตถุประสงค์ของการตั้งสมาคม ดังนี้

1. เพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการ ศึกษา ตลอดจนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในประเทศไทย
2. เพื่อให้มีการติดต่อประสานงานและส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างสมาคม ATPAC กับองค์กรต่างๆ ในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ รวมทั้งสหรัฐอเมริกาและแคนาดา
3. เพื่อให้มีการติดต่อและส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิก

สมาคม ATPAC ได้แบ่งเขตภูมิภาคออกเป็น 5 เขตพื้นที่ ได้แก่ เขตพื้นที่ทางเหนือ ใต้ ตะวันออก ตะวันตกของประเทศสหรัฐอเมริกา และพื้นที่เขตประเทศแคนาดา โดยแต่ละพื้นที่จะมีผู้อานวยการเขตภูมิภาค (Regional Director) เป็นคณะกรรมการบริหารสมาคม ทาหน้าที่เป็นผู้ริเริ่ม จัดทา ดูแล และส่งเสริมกิจกรรมของสมาคม รวมทั้งประสานงานกับนายกสมาคมและเขตพื้นที่อื่นๆ ด้วย นายกสมาคม ATPAC และผู้อานวยการเขตภูมิภาคจะมาจากการเลือกตั้งของสมาชิกสมาคม และมีวาระการทางาน เทอมละ 2 ปี ปัจจุบันสมาคม ATPAC มีสมาชิกประกอบด้วยกลุ่มอาจารย์มหาวิทยาลัย กลุ่มนักวิชาการและนักวิจัยในหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนของประเทศสหรัฐฯ และแคนาดา นักธุรกิจและนักศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมประมาณ 222 คน และในปีพ.ศ. 2553 เป็นปีที่สมาคมนักวิชาชีพไทยในอเมริกาและแคนาดา (Association of Thai Professionals in America and Canada – ATPAC) มีอายุครบรอบปีที่ 20 ของการก่อตั้ง

สรุปมาตรการด้านวิทยาศาสตร์ที่สาคัญหลังการเลือกตั้งกลางวาระ


ถึงแม้ว่า รัฐบาลประธานาธิบดีโอบามาจะอยู่ในช่วงวาระที่เรียกว่า “วาระการประชุมเป็ดง่อย” (Lame-duck Session) หลังจากพ่ายแพ้การเลือกตั้งกลางปีและเสียที่นั่งส่วนใหญ่ให้กับพรรครีพับลีกัน แต่วุฒิสภาและสภาผู้แทนได้ผ่านกฏหมายที่มีความสาคัญต่อวิสาหกิจด้านเคมี เช่นมาตรการ การลดภาษี การให้อานาจตาม the America Competes Act การยกเครื่องกฏหมายอาหารปลอดภัย และการผลักดันให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดาเนินงานต่อไปได้คล่องตัวขึ้น ถึงแม้ว่าจะได้รับการคัดค้านจากฝ่ายค้านก็ตาม ซึ่งเป็นไปตามที่ประธานาธิดีโอบามาได้เคยกล่าวไว้เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2010 ว่า กฏหมายจะเป็นสิ่งดีสาหรับคนอเมริกัน เป็นความก้าวหน้าและจะช่วยปกป้องคนชั้นกลาง สร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจและสร้างงาน

ชิ้นแรกคือกฏหมายที่มีผลกระทบต่อวิสาหกิจที่ใช้วิทยา-ศาสตร์คือ การขยายระยะเวลาการลดภาษี (ซึ่งให้สิทธิมาตั้งแต่สมัยประธานาธิบดีบุช) ไปจนถึงปี 2010 และขยายไปเป็นการลดภาษีธุรกิจ รวมถึงมีการออกแบบ tax credit เพื่อสนับสนุนการลงทุนในด้าน R&D ให้มากยิ่งขึ้น มาตราการ ภาษีดังกล่าวมีมูลค่างบประมาณ 858 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งรวบรวมความต้องการจากกลุ่มธุรกิจต่างๆ (ที่ล้อบบี้) เช่น การทบทวนให้มีการขยาย tax credit (ซึ่งสิ้นสุดลงในปี 2009) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการทา R&D จานวนร้อยละ 20 ขยายแผนงานสนับสนุนเงินด้านพลังงานทดแทนไปอีกหนึ่งปี และให้มี tax credit สาหรับการผลิตเอทานอลในแต่ละท้องถิ่นรวมถึงโครงการด้านพลังงานที่มีประ-สิทธิภาพต่างๆ

ที่น่าประหลาดใจ วุฒิสภาได้ผ่านกฏหมายยกเครื่องอาหารปลอดภัยในประเทศสหรัฐฯ ถึงแม้จะถูก ให้นากลับไปแก้ไขจากสภาผู้แทนเนื่องจากข้อผิดพลาดทางเทคนิคด้านภาษากฏหมาย ซึ่งกฏหมายฉบับนี้ช่วยชุบชีวิตใหม่ให้กับกฏหมาย FDA Food Safety Modernization Act ขององค์การอาหารและยาสหรัฐฯ หรือ FDA ซึ่งไม่มีการปรับปรุงมานาน และจะทาให้ FDA มีอานาจใหม่ในการคุ้มครองป้องกันการเจ็บป่วยที่เกิดจากอาหารรวมถึงมีอานาจถอดถอนอาหารที่ไม่ปลอดภัยออกจากชั้นวาง และมีบทบังคับให้ผู้ผลิตต้องพัฒนาแผนการในการป้องกันการปนเปื้อนอาหาร รวมถึงเพิ่มจานวนผู้ตรวจสอบอุปกรณ์เครื่องมือการประกอบการด้านอาหารด้วย

มาตรการต่อมา วุฒิสภาได้ผ่านมาตรการการให้อานาจ (อีกครั้ง) แก่ the America Competes Act ซึ่งเป็นกฏหมายที่บัญญัติไว้ในตั้งแต่ปี 2007 และมุ่งเน้นการเพิ่มงบประมาณให้ National Science Foundation-NSF, the National Institute of Standards & Technology-NIST, Office of Scienceของ De-partment of Energy-DoE โดยมาตราการดังกล่าวได้เสนอให้เพิ่มงบประมาณแก่ NSF ร้อยละ 20 NIST ร้อยละ 21 DoE ร้อยละ 22 และเป็นเพียงมาตรการที่เสนอแนวทางการสนับสนุนด้านการเงิน (Funding) สาหรับอนาคต และให้ยืดช่วงเวลาการสนับสนุนงบประมาณแก่หน่วยงานทั้งสามไปอีก 10 ปีมาตรการดังกล่าวยังเสนอให้หน่วยงานสร้างแผนงานวิจัยใหม่ เช่น ด้าน GreenChemistry ใน NSF หรือ แผนงานการสนับสนุนเงินให้เปล่าในการวิจัยพื้นฐานที่สามารถสร้างทางเลือกในทางเศรษฐกิจ สะอาด และปลอดภัย รวมถึงแนวทางการปฏิบัติที่ดีแก่ผลิตภัณฑ์เคมี รวมถึงเน้นให้ NSF กาหนดนโยบายในการใช้งบประมาณวิจัยอย่างน้อยร้อยละ 5 เพื่อสนับสนุนข้อเสนองานวิจัยที่มีความเสี่ยงสูงด้วย

รัฐบาลที่อยู่ในช่วงวาระ Lame Duck Session ยังผ่านข้อตกลงในเรื่องการจัดสรรงบประมาณอย่างต่อเนื่องเพื่อทาให้รัฐบาลสามารถดาเนินงานได้อย่างราบรื่นมาตรการ ดังกล่าวทาให้หน่วยงานภาครัฐด้านต่างๆ ยังคงได้รับงบประมาณสนับสนุนในปี 2010 รวมถึงการสนับสนุนให้ Homeland Security Department มีอานาจในการ ควบคุมการจัดหาสิ่งอานวยความสะดวกที่เกี่ยวข้องกับเคมีและมีความเสี่ยงต่อความปลอดภัยสูง

ที่มา: C & EN, Government & Policy, January 2, 2011