Monday, February 7, 2011

หุ่นยนต์สาหรับห้องฉุกเฉิน


ห้องฉุกเฉิน หรือ Emergency Room (ER) ในโรงพยาบาล เป็นห้องที่รองรับผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บฉุกเฉินที่ต้องการการรักษาอย่างเร่งด่วน ซึ่งเจ้าหน้าที่จะคอยดูแล หรือรักษาตามลาดับของความรุนแรง และความเร่งด่วนของโรคหรืออาการบาดเจ็บนั้นๆ ซึ่งถ้าหากเจ้าหน้าประเมินเบื้องต้นแล้วยังไม่พบอาการที่รุนแรงถึงชีวิต คนไข้จะต้องรอรับการรักษาในห้องรอรับการรักษา (Waiting Room) เพื่อรับการรักษาต่อไป ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาคนไข้ กลุ่มผู้วิจัยจึงได้คิดค้นพัฒนาหุ่นยนต์ที่สามารถใช้งานในห้องฉุกเฉิน โดยออกแบบหุ่นยนต์ดังกล่าวให้สามารถเก็บข้อมูลของยารักษาโรคต่าง ๆ สามารถวิเคราะห์และเก็บผลอาการเบื้องต้นของคนไข้ อีกทั้ง รวบรวมอาการของคนไข้และสรุปอาการเบื้องต้นให้กับเจ้าหน้าที่ ซึ่งกลุ่มผู้วิจัยคาดว่าจะสามารถย่นระยะเวลาในการรอรับการรักษาของคนไข้ ลดภาระของเจ้าหน้าที่ รวมถึงช่วยลดโอกาสการเกิดความผิดพลาดในการรักษาอีกด้วย ในปัจจุบัน คนไข้กว่าร้อยละ 40 ต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน เนื่องจากได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการป่วยที่อาจมีอันตรายถึงชีวิต ส่วนคนไข้อีกร้อยละ 60 สามารถรอรับการรักษาได้ในลาดับถัดไป ซึ่งกลุ่มผู้วิจัยคาดว่า หุ่นยนต์นี้จะสามารถช่วยวิเคราะห์อาการของคนไข้เบื้องต้นได้ และสามารถนามาใช้งานได้จริงภายในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยมีระบบการปฏิบัติงานคล้ายกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการลงทะเบียนผู้โดยสารของสายการบินต่างๆ

ในอนาคต มีแนวโน้มที่จะมีการใช้หุ่นยนต์ในห้องฉุกเฉินเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสามารถนามาใช้ได้ตั้งแต่จุดลงทะเบียนคนไข้ ซึ่งคนไข้สามารถให้ข้อมูลกับหุ่นยนต์ผู้ช่วยด้วยตัวเอง ผ่านระบบหน้าจอสัมผัสและระบบเสียงตอบรับ แต่ถ้าหากหุ่นยนต์ได้รับข้อมูลที่บ่งชี้ถึงอันตราย เช่น เจ็บหน้าอก หายใจติดขัด หุ่นยนต์จะแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบทันที และถ้าหุ่นยนต์ไม่ได้รับข้อมูลดังกล่าว หุ่นยนต์จะแจ้งระยะเวลาในการรอรับการรักษาเพื่อให้คนไข้นั่งรอในห้องรอรับการรักษาต่อไป และภายในห้องรอรับการรักษา กลุ่มผู้วิจัยจะพัฒนาหุ่นยนต์ที่สามารถตรวจวัดความดันโลหิต ชีพจร และจะแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบทันทีหากคนไข้มีอาการเจ็บปวดเพิ่มขึ้น

นอกจากการคิดค้นระบบการทางานที่เหมาะสมต่อการใช้งานในห้องฉุกเฉินแล้ว การออกแบบรูปร่างลักษณะของหุ่นยนต์ก็เป็นอีกวัตถุประสงค์หนึ่งที่กลุ่มผู้วิจัยคานึงถึง เนื่องจาก รูปร่างลักษณะของหุ่นยนต์นั้น มีผลต่อความน่าเชื่อถือของคนไข้ ทั้งนี้ กลุ่มผู้วิจัยคาดว่าหุ่นยนต์ดังกล่าวจะสามารถนามาใช้งานได้จริงในห้องฉุกเฉิน หรือขยายผลสู่กลุ่มผู้ใช้งานอื่นๆ ต่อไป


ที่มา: National Science Foundation, December 9, 2010
http://www.ostc.thaiembdc.org/stnews_feb11_3.html

No comments:

Post a Comment